ลาออกงานประจำ ว่างงาน ถูกเลิกจ้างงาน รายงานตัวผ่านอินเตอร์เน็ตออนไลน์ ได้โดยตรง เว็บไซด์กรมการจัดหาแรงงาน (E-Services) ไม่ต้องเดินทาง ลงทะเบียนสมัครผ่าน Internet บนโทรศัพท์มือถือ ยื่นเรื่อง Online ลดขั้นตอนไปลงทะเบียน รายงานตัว โดยตรงผ่านมือถือที่บ้านได้แล้ว
วิธีรายงานตัวว่างงานผ่านเน็ต กรมการจัดหาแรงงาน
ใครคนที่ ถูกเลิกจ้าง หรือ ลาออกงาน ให้สามารถยื่นขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตน ว่างงานออนไลน์ได้โดยตรง เพียงแค่ขึ้นทะเบียนว่างงาน กรอกข้อมูล บัตรประชาชน 13 หลัก ลงทะเบียนเปิดใช้งานแอปพลิเคชัน D.Dopa ไม่ต้องไปที่สำนักงานในพื้นที่ใกล้จังหวัดก็ได้ ง่ายสุดค่ือใส่เลขบัตรประชาชนลงไปทำได้ผ่านเน็ต บนมือถือได้เลย
เข้าไปรายงานตัวออนไลน์ ที่นี่ https://connect.egov.go.th/Account/Register เพื่อนทำการสมัครสมาชิก สร้าง ID Log in เข้าใช้งานก่อนครับ
5 ขั้นตอนลงทะเบียนประกันสังคม
1. ข้อตกลงการใช้บริการ ผู้รับประกันตัวว่างงานจะต้องอ่านรายละเอียด แล้วกดทำเครื่องหมายติ๊กถูก "ยอมรับ" เงื่อนไขที่กำหนด https://e-service.doe.go.th/login.do
2. พิสูจน์ตัวตน ใส่เลยบัตรประชาชนผู้ขอรับบริการ เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13หลัก เลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน ให้เรียบร้อย เสร็จแล้วกดยืนยัน
3. การพิสูจน์ตัวตน ตามที่สำนักงานจัดหางานได้ให้ผู้สมัคร รายงานตัวว่างงานผ่านเน็ต ได้โดยตรง ให้ยืนยันตัวตนตามเลขบัตรประชาชน ให้ถูกต้อง
4. ยืนยันเบอร์มือถือ ผู้ลงทะเบียน กรอกเบอร์โทรศัพท์ 10 เลข เพื่อรับข้อความการสมัครเน็ต
5. ตรวจสอบข้อมูล ขั้นตอนสุดท้ายการสมัคร ให้ตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนส่งรายงานประวัติ
6. เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้วก็ให้เข้าไปที่หน้านี้ https://e-service.doe.go.th/
ระบบบริการประชาชน E-Service การเลือกเข้าไปลงทะเบียน ในนี้จะมีให้เลือกหลายอย่าง เป็นหมวดๆ ไป ดังนี้
3. ขึ้นทะเบียนประกันตนผู้ว่างงาน
5. ระบบต่ออายุคนต่างด่าว 4สัญชาติทางอิเล็กทรอนิกส์
6. การขอรับสิทธิ์สำหรับ ( ผู้พิการ) ในมาตรา 35
ใครมีสิทธิ์รับเงินประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคมจ่ายชดเชย ผู้ทำประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 "เงินว่างงาน" ทำงานในระบบไม่น้อยกว่า 6 เดือน กำหนดเงื่อนไขไว้เป็นข้อๆ
1. ลาออกงาน จะได้รับเงิน 30% เป็นเวลา 3เดือน เช่น เงินเดือน 10,000จะได้รับ 3,000บาท คิดเป็นเวลา 3เดือน เป็นเงินรวม 9,000บาท ไม่เกิน 15,000 บาท
2. ถูกไล่ออก จะได้รับเงิน 50% ของค่าจ้าง 180 วัน ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท เช่นเงินเดือน 10,000 บาท ได้รับเงิน 5,000 บาท คิดเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท คิดเป็นเงินสูงสุด 6 เดือน เป็นเงิน 30,000 บาท
เงินชดเชยถูกให้ออกจากงาน ได้รับจากนายจ้างกี่บาทตามอายุงาน
เมื่อนายจ้างให้ออกจากงาน จะได้รับเงินชดเชยตามอายุงาน ดังนี้
ค่าบอกจ่ายล่วงหน้า 1งวดรายเดือน ได้รับเงินชดเชย 30 วัน
รับค่าจ้างรายสัปดาห์ ได้รับเงินชดเชย รายสัปดาห์
120วัน - 12 เดือน ได้รับเงินชดเชย ค่าจ้างสุดท้าย 30วัน
1 ปี - 3 ปี ได้รับเงินชดเชย ค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
3 ปี - 6 ปี ได้รับเงินชดเชย ค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
6 ปี - 10 ปี ได้รับเงินชดเชย ค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
10 ปี - 20 ปี ได้รับเงินชดเชย ค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
20 ปี - 40 ปี ได้รับเงินชดเชย ค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน
วิธีขึ้นทะเบียนออนไลน์
กรอกข้อมูลส่วนตัวเสร็จแล้ว
- ให้ใส่วุฒิการศึกษา
- สถานะการออกจากงาน
0. ลาออก 0. เลิกจ้าง
เพื่อ "หางานทำ" หรือต้องการ "ประกอบอาชีพอิสระ" กรอกข้อมูลในแบบ สปส.2-01/7 แนบไฟล์สำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารของรัฐบาลก็ได้
การรายงานตัวผ่านเน็ต
จะต้องรายงานตัวทุกเดือน เพื่อรับเงินชดเชยการว่างงาน ตามกำหนด
1. กรณีมีงานทำแล้ว กรอก วันเดือนปีที่เริ่มงาน ตำแหน่งงานอัตราค่าจ้าง ซื่อสถานประกอบการ
2. กรณียังไม่มีงานทำ ค้นหาตำแหน่งงานว่าง เลือกสมัครงาน หรือ ประกอบอาชีพอิสระ ระบุประเภทอาชีพ
หมายเหตุ : ระบบจะแจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดรายงานตัว
ตรวจสอบสถานะการรับผลประโยชน์ทดแทน
เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ตาม มาตตรา 33 รับผลประโยชน์ตามกฏหมาย ควรตรวจเช็คตามเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
1. ตรวจสอบการขึ้นทะเบียน
2. ตรวจสอบการรายงานตัว
3. ตรวจสอบการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน
เข้าไปกรอกรายละเอียดได้ที่นี่ https://connect.egov.go.th/Account/Register (สำหรับผู้ที่ไม่เห็นลิ้งด้านบน)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น